ในกรุงเทพฯ ยังมีวัดที่เก่าแก่ และวัดสวยอีกมากมายครับ ซึ่งมีอีกหนึ่งในวัดสำคัญในกรุงเทพ นั้นก็คือ วัดระฆัง หรือชื่อเต็มคือ วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร วัดสวยเก่าแก่ในกรุงเทพฯ ทั้งคนไทยเรายังเชื่อว่า การมาไหว้พระที่วัดแห่งนี้ จะทำให้มีคนนิยมชมชื่น มีชื่อเสียงโด่งดังตลอดปี ทำให้วัดค่อนข้างมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากครับ
วัดระฆัง และประวัติความเป็นมา
ในอดีตวัดแห่งนี้มีชื่อว่า วัดบางหว้าใหญ่ ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้สร้างพระราชวังขึ้นใกล้กับวัดแห่งนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางหว้าใหญ่ และยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง และในสมัยรัตนโกสินทร์ วัดแห่งนี้ยังถูกใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช และใช้เป็นสถานที่ในการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎก
ซึ่งได้อัญเชิญมาจากนครศรีธรรมราช ส่วนที่มาของชื่อได้มาจากในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ซึ่งมีการขุดพบระฆังลูกหนึ่งซึ่งมีเสียงไพเราะมาก หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้นำระฆังลูกนั้นไปไว้ที่วัดพระแก้ว และโปรดให้สร้างหอระฆัง พร้อมทั้งระฆังอีก 5 ลูกขึ้นทดแทน จึงกลายเป็นที่มาของวัดจนถึงในปัจจุบันนั่นเองครับ
พระปรางค์ของวัดระฆัง
ปูชนียสถานที่สำคัญอีกแห่งนี้ ก็คือ พระปรางค์ ครับ ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระปรางค์ที่ทำถูกแบบแผนที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยทรงมีพระราชศรัทธาสร้างพระปรางค์ พระราชทานร่วมกุศลกับสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ เป็นพระปรางค์แบบสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ยุคต้นที่งดงาม จนยึดถือเป็นแบบฉบับของพระปรางค์ที่สร้างในยุคต่อมานั่นเองครับ
สำหรับ พระคาถาชินบัญชร เป็นบทสวดมนต์ สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้น โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี โดยมีเชื่อที่ว่าหากสวดกันเป็นประจำจะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลให้กับตัวเองนั่นเองครับ
พระพุทธรูปประจำวัดระฆัง
วัดระฆังโฆสิตาราม มีพระประธานนามว่า พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ 4 ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก 3 องค์ นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท ที่มาของชื่อยิ้มรับฟ้ามาจากในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดแห่งนี้ และได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าว่า “ไปวัดไหนไม่เหมือนมาวัดระฆัง พอเข้าประตูโบสถ์พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที” ทำให้พระประธานองค์นี้ได้ชื่อว่า” พระประธานยิ้มรับฟ้า” ตั้งแต่นั้นมา
วัดระฆังโฆสิตาราม เดินทาง อย่างไร
การเดินทางไปวัดระวังนั้นไม่ใช่เรื่องยากครับ มีวิธีการเดินทางที่สะดวกที่สุด ตามนี้เลยครับ
- รถประจำทาง สาย 57, 146 และ 177
- เรือด่วนเจ้าพระยา ลงเรือที่ท่าช้าง จากนั้นขึ้นเรือข้ามฟากมายังท่า วัดระฆัง ค่าโดยสารเรือด่วนเริ่มต้นที่ 15 บาท และค่าเรือข้ามฟาก 3.50 บาท
- รถแท็กซี่ เป็นการเดินทางที่สะดวกสบายและได้รับความนิยมอย่างมาก โดยมีอัตราค่าบริการเริ่มต้นที่ 35 บาท และเพิ่มค่าโดยสารกิโลเมตรละ 5.50 บาทในระยะ 1-10 กิโลเมตรแรก
หวังว่าหลายๆ คนที่ได้ผ่านมาบริเวณนี้คงจะแวะเวียนกันมากราบนมัสการสิ่งศักสิทธิ์ และชื่นชมสถาปัตยกรรมต่างๆ ภายในวัดได้อย่างอิ่มบุญอิ่มใจกันถ้วนหน้า
ข้อมูล วัดระฆัง กรุงเทพ
- ที่อยู่ : ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
- พิกัด : https://goo.gl/maps/u7PWUUDY3YF4LCni6
- เปิดให้เข้าชม : 07.00-18.00 น.
- เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/watrakhang.official
อ่านบทความเพิ่มเติมมากมายได้ที่นี่ mateawthai.com
- 5 แหล่ง เที่ยวคนเดียว ในกรุงเทพอย่างสนุกสนาน หมดปัญหาเพื่อนเวลาว่างไม่ตรงกัน - August 20, 2024
- ทริปเที่ยวรถไฟ KIHA 183 ในเดือนกันยายน 2567 - August 13, 2024
- 5 ร้านข้าวต้มโต้รุ่ง กรุงเทพ เปิดถึงเช้าเอาใจคนนอนดึก - August 1, 2024