งานผีตาโขน 2567 เป็นการละเล่นผีตาโขน ซึ่งเป็นงานประเพณีบุญหลวงที่ผสมผสานความรู้สึกไว้มากมาย ทั้ง ความสนุกสนาน ความมีเอกลักษณ์ รวมไปถึงความศรัทธา สำหรับงานนี้มีจุดเด่นมากมาย แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดที่หลายคนเคยเห็นกันมาบ้าง คือ ขบวนแห่ผีตาโขน นั่นเอง ในปี 2567 ยังจัดสุดยิ่งใหญ่และมีกิจกรรมให้ร่วมมากมาย เรามาดูรายละเอียดกันเลย
งานผีตาโขน จังหวัดเลย ปี 2567
ประวัติผีตาโขน เป็นส่วนหนึ่งของงานบุญหลวง หรือ บุญผะเหวด เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งจัดขึ้นในเดือน 7 ของทุกปี โดยได้รับอิทธิพลมาจากมหาเวสสันดรชาดก เล่าถึงตอนที่พระเวสสันดรและนางมัทรีต้องออกจากป่ากลับสู่เมือง เหล่าผีป่าและสัตว์นานาชนิดต่างอาลัยรัก จึงพากันมาส่งเสด็จ กลายเป็นที่มาของผีตามคน หรือ ผีตาโขน นั่นเอง
งานผีตาโขน 2567 มีกิจกรรมอะไรบ้าง
งานผีตาโขน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ ขบวนแห่ผีตาโขน โดยเหล่าผีตาโขนจะแต่งกายด้วยชุดและหน้ากากผีหลากสีสัน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น การประกวดหน้ากากผีตาโขน การแสดงพื้นบ้าน การละเล่นต่าง ๆ และยังมีร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและอาหารให้เลือกชิมเลือกซื้อกันอีกด้วย มาดูกำหนดการหรือรายละเอียดกันเลย
วันที่ 7 กรกฏาคม 2567 พิธีเบิกพระอุปคุต
- พิธีการบวชพราหมณ์ เพื่อเชิญพระอุปคุต
- พิธีแห่จากวัดโพนชัยไปริมฝั่งแม่น้ำหมัน เพื่อเชิญพระอุปคุต
- พิธีงมพระอุปคุตจากแม่น้ำหมัน อัญเชิญขึ้นประดิษฐานหออุปคุต วัดโพนชัย
- พิธีเบิกพระอุปคุต พร้อมยิงปืนทั้ง 4 ทิศ
- พิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม
วันที่ 8 กรกฎาคม 2567 วันแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง หรือขบวนแห่ผีตาโขน
- พิธีสู่ขวัญพระเวสสันดร อัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมือง
- ขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง (ขบวนแห่ผีตาโขน) ตั้งขบวนหน้าที่ว่าการอำเภอ
- เจ้าพ่อกวนและคณะนำขบวนแห่ไปวัดโพนชัย แห่รอบโบสถ์ 3 รอบ
- เจ้าพ่อกวนและคณะจุดบั้งไฟขอฝน
- คณะผู้เล่นบุญหลวงนำหน้ากากผีตาโขนน้อยและผีตาโขนใหญ่ทิ้งลงแม่น้ำหมัน
ขอบคุณข้อมูล : ททท.สำนักงานเลย : TAT Loei Office
อ่านบทความเพิ่มเติมมากมายได้ที่นี่ mateawthai.com